ทางเลือกสำหรับท่านที่ต้องการวงจร Band pass filter แบบ double tuned
แล้วต่อสายอากาศโดยตรง ไม่ต้องมีปรีแอมป์
จากการทดลองพบว่าแก้ปัญหาสัญญาณรบกวนจากแบนด์อื่นได้ดีมาก
สำหรับ 21 MHz
C1 = 10pF
C2 =ไม่ต้องใส่
C3 = 1pF
C4 = 10pF
C5 =1.5pF (หรือ 2 pF)
L1 , L2 = 1uH = 18 turns on T37-6 core
21 MHz Superheterodyne Radio
สร้างเครื่องรับวิทยุสมัครเล่น 21 MHz ระบบ Superheterodyne โดย HS8JYX == ติดต่อผู้จัดทำ Line ID :: hs8jyx ==
Thursday, September 19, 2013
Thursday, June 27, 2013
Saturday, May 25, 2013
Wednesday, May 1, 2013
Sunday, March 3, 2013
ทดลองรับสัญญาณ 21 MHz นอกสถานที่
ทดลองรับสัญญาณนอกสถานที่ พร้อมด้วยวัดกำลังส่ง แต่ว่าบริเวณนี้ยังมีสัญญาณรบกวนจากไฟฟ้าอยู่ ด้านหลังเป็นป่า แต่ด้านหน้าเป็นถนนใหญ่ มีสายไฟฟ้า
Monday, February 25, 2013
เทคนิคการพันคอยล์อย่างหนึ่งในวงจร VFO
ในบล็อกของเราตอนที่ 1 วงจร VFO ผมได้ทดลองแก้ปัญหาเรื่อง Frequency Drift ไปหลายแนวทางแล้ว แต่ยังมีแนวทางหนึ่ง ที่เจอในหลาย ๆ บทความ ผมขอยกตัวอย่างบทความจาก "An Optimized QRP Transceiver for 7 MHz ARRL Handbook 1993" หน้าที่ 30-37 ถึงหน้า 30-40 บอกว่าการพันคอยล์ควรพันบนแกน Type 6 (แกนสีเหลือง แกนเดียวกับที่เราใช้) จากนั้นนำไปต้มด้วยน้ำร้อน เป็นระยะเวลาไม่นานนัก จากนั้นปล่อยให้เย็นลงอย่างช้า ๆ ด้วยอุณหภูมิห้อง สามารถช่วยลดปัญหาปัญหาเรื่อง Frequency Drift ได้ การทดลองนี้ผมเองยังไม่ได้ทดลองนะครับ แต่เห็นเจอในหลาย ๆบทความ (บทความเก่า ๆ) อยากให้เพื่อน ๆ ทดลองกันดู
การนับรอบบนแกน Toroid
ในการประกอบวิทยุของเราทั้งภาครับและภาคส่งบางส่วนมีความจำเป็นต้องใช้แกน Toroid ดังนั้นเราควรเข้าใจการนับรอบการพันขดลวดให้ถูกต้อง โดยดูจากรูปตัวอย่าง
(ภาพประกอบจาก ARRL)
รูป A แค่นำลวดสอดผ่านแกนก็จะนับเป็น 1 รอบ ถ้าพัน 1 รอบแบบรูป B จะนับเป็น 2 รอบ
(ภาพประกอบจาก ARRL)
ดังนั้นในรูปขวามือ (Face View) จึงมีจำนวนรอบเท่ากับ 11 รอบ
(ภาพประกอบจาก ARRL)
รูป A แค่นำลวดสอดผ่านแกนก็จะนับเป็น 1 รอบ ถ้าพัน 1 รอบแบบรูป B จะนับเป็น 2 รอบ
(ภาพประกอบจาก ARRL)
ดังนั้นในรูปขวามือ (Face View) จึงมีจำนวนรอบเท่ากับ 11 รอบ
Subscribe to:
Posts (Atom)